Overview Java Programming for Android


Baca Juga

Video บันทึก JAVA for Android Course แบบ Online



-->





Overview Java Programming for Android 


พื้นฐานโปรแกรมภาษาจาวา

(Overview of Java Programming Language)

วัตถุประสงค์

แนะนำสัญลักษณ์และคำต่างๆ ที่ใช้ในภาษาจาวา

แนะนำข้อมูลค่าคงที่และชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานที่ใช้ในภาษาจาวา

แนะนำการประกาศและคำสั่งกำหนดค่าตัวแปร

แนะนำตัวดำเนินการประเภทต่างๆ

อธิบายการแปลงชนิดข้อมูล

แนะนำชนิดข้อมูลแบบอ้างอิง

แนะนำคำสั่งที่ใช้ในการรับข้อมูลและคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผล



ไวยากรณ์ภาษาจาวา (Java)

คำหรือข้อความที่สามารถเขียนในโปรแกรมภาษาจาวาจะต้องเป็นคำหรือข้อความในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของประเภทต่างๆ เหล่านี้

คอมเม็นต์ (Comment)

Identifier

คีย์เวิร์ด (Keywords)

สัญลักษณ์แยกคำ (Separators)

ช่องว่าง (Whitespace)

ข้อมูลค่าคงที่ (Literals)



คอมเม็นต์

คอมเม็นต์คือข้อความที่แทรกอยู่ในโปรแกรม

คอมเม็นต์เขียนไว้เพื่อ

อธิบายโปรแกรม

ให้ผู้อ่านเข้าใจโปรแกรมง่ายยิ่งขึ้น

ช่วยทำให้การแก้ไขและปรับปรุงโปรแกรมเป็นไปได้ง่ายขึ้น

ภาษาจาวากำหนดรูปแบบของการเขียนคอมเม็นต์ไส้สามรูปแบบดังนี้

// This is a comment

คอมเม็นต์สำหรับบรรทัดเดียว

/* This is also a comment */

คอมเม็นต์สำหรับข้อความตั้งแต่หนึ่งบรรทัดขึ้นไป

/** This is a comment  for documentation */

คอมเม็นต์สำหรับข้อความที่ต้องการสร้างเป็นไฟล์เอกสารที่เป็นไฟล์ประเภท HTML

ตัวอย่างโปรแกรม

/* This program is to show

How to write comments  */

 
Identifier
Identifier คือชื่อที่ตั้งขึ้นในภาษาจาวา ซึ่งอาจเป็นชื่อของคลาส ชื่อของตัวแปร หรือชื่อของเมธอด
Identifier จะต้องเป็นไปตามกฎการตั้งชื่อดังนี้
                Identifier จะต้องขึ้นต้นด้วยอักขระ A-Z, a-z, _หรือ $ เท่านั้น
                Identifier ที่ประกอบไปด้วยตัวอักขระมากกว่าหนึ่งตัว ตัวอักขระหลังจากตัวแรกนั้นจะต้องเป็นตัวอักขระข้างต้น หรือเป็นตัวเลข 0 ถึง 9 เท่านั้น
                Identifier จะต้องไม่ตรงกับคีย์เวิร์ด
Identifier ในภาษาขาวาเป็น case sensitive ทำให้ myVariable แตกต่างจาก MyVariable

ตัวอย่างของ Identifier
ถูกต้อง                                                   ไม่ถูกต้อง
MyVariable                                          My Variable
_MyVariable                                       9pns
$x                                                           a+c
This_is_also_a_variable                   Hello’World
                                                                Public

หลักการตั้งชื่อที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป

การตั้งชื่อของคลาส

                จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่แล้วตามด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็กหรือตัวเลข โดยจะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรนำของแค่ละคำที่ตามมาในชื่อ

ควรเป็นคำนาน

ตัวอย่างเช่น Sample, HelloWorld, Student หรือ GruduateStudent เป็นต้น

การตั้งชื่อของตัวแปร

                จะขึ้นด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก โดยจะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรนำของแต่ละคำที่ตามมาในชื่อ

                ควรเป็นคำนามหรือเป็นชื่อสั้นๆ

                ตัวอย่างเช่น x, I, name, id หรือ gpa เป็นต้น

การตั้งชื่อเมธอด

                จะใช้หลักการเดียวกับการตั้งชื่อตัวแปร แต่ควรเป็นคำกริยา

                ตัวอย่างเช่น getName, setName หรือ showDetails เป็นต้น

การตั้งชื่อค่าคงที่

                จะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั่งหมด และจะแยกคำโดยใช้เครื่องหมาย _(underscore)

                ควรเป็นคำนาม

                ตัวอย่างเช่น MIN_GPA เป็นต้น



คีย์เวิร์ด

คีย์เวิร์ดคือชื่อที่มีความหมายพิเศษในภาษาจาวา

คีย์เวิร์ดทุกตัวจะเป็นตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก

คีย์เวิร์ด goto และ const

                เป็นคีย์เวิร์ดที่ไม่ได้ตรงกับคำสั่งใดในภาษาจาวา

คำว่า true และ false

                ไม่ได้เป็นคีย์เวิร์ดในภาษาจาวา แต่จะเป็นข้อมูลค่าคงที่ชนิดตรรกะ

คำว่า null

                ไม่ได้เป็นคีย์เวิร์ดในภาษาจาวา แต่จะเป็นข้อมูลค่าคงที่ของตัวแปรที่มีชนิดข้อมูลเป็นประเภทอ้างอิง

คีย์เวิร์ดที่ใช้ในภาษาจาวา


ข้อมูลค่าคงที่
ข้อมูลค่าคงที่คือคำที่ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าทางตรรกะ
ข้อมูลค่าคงที่แบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
                ตรรกะ (boolean)
ตัวอักขระ (character)
ตัวเลขจำนวนเต็ม (integral)
ตัวเลขทศนิยม (floating point)
ข้อความ (string)
ชนิดข้อมูลแบบพื้นฐาน
ชนิดข้อมูลในภาษาจาวาแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
                ชนิดข้อมูลแบบพื้นฐาน
                ชนิดข้อมูลแบบอ้างอิง
ชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
                ชนิดข้อมูลตรรกะ (Logical) คือชนิด boolean
ชนิดข้อมูลอักขระ (Textual) คือชนิด char
ชนิดข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็ม (Integral) คือชนิด byte, short, int และlong
ชนิดข้อมูลตัวเลขทศนิยม (Floating point) คือชนิด float และ double

ข้อมูลชนิดตรรกะ
Ø ข้อมูลชนิดตรรกะมีข้อมูลค่าคงที่อยู่ 2 ค่าคือ
·       True และ false
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
·       Boolean flag = true ;
เป็นการกำหนดตัวแปรที่ชื่อว่า flag ให้มีชนิดข้อมูลเป็น Boolean โดยกำหนดให้มีค่าเป็น true
                ข้อมูลชนิดตัวอักขระ
Ø ข้อมูลชนิดตัวอักขระใช้เพื่อแสดงตัวอักขระหนึ่งตัว ซึ่งถูกเก็บอยู่ในรูปของมาตรฐาน Unicode ขนาด 16 บิต
Ø โดยจะมีค่าตั้งแต่ ‘\u0000’ถึง ‘\uFFFF’
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
·       Char letter = ‘\u0041’
เป็นการประกาศตัวแปรที่ชื่อว่า letter ให้เป็นข้อมูลชนิด char โดยมีค่าเป็น \u0041 ซึ่งมีค่าเท่ากับตัวอักษร A
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
·       Char letter = ‘\A’
เป็นการประกาศตัวแปรที่ชื่อว่า letter ให้เป็นข้อมูลชนิด char โดยมีค่าเป็น  A เช่นเดียวกับคำสั่งก่อนหน้านี้


ข้อมูลชนิดตัวเลขตัวเต็ม
Ø มีชนิดข้อมูลพื้นฐาน 4 ชนิดคือ
·       Byte, short , int , long
Ø โดยทั่วไปข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็มจะถูกกำหนดให้มีชนิดข้อมูลเป็น int
Ø ข้อมูลมีค่าคงที่สามารถเขียนได้สามแบบดังนี้
·       เลขฐานสิบคือการเขียนเลขจำนวนเต็มทั่วไป อาทิ เช่น -121 และ 75362 เป็นต้น
·       เลขฐานแปดคือการเขียนเลขจำนวนเต็มที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0 แล้วตามด้วยตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 7 อาทิเช่น 016 (มีค่าเท่ากับ 14 ในเลขฐานสิบ)
·       เลขฐานสิบหกคือการเขียนเลขจำนวนเต็มที่ขึ้นต้นด้วย 0x  หรือ แล้วตามด้วยเลขตั้งแต่ 0 ถึง  9 หรือตัวอักษร  A ถึง F อาทิเช่น 0xA2 (มีค่าเท่ากับ 162 ในเลขฐานสิบ)
Ø ตัวแปรคือข้อมูลที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าที่ได้ในโปรแกรมโดยใช้คำสั่งกำหนดค่า
Ø คำสั่งในการประกาศตัวแปรของภาษาจาวามีรูปแบบดังนี้
dataType  variableName [, variableName] ;
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
Int amount ;
double x , y ;
float price, wholeSalePrice  ;
                คำสั่งกำหนดค่า (Assignment Statement)
Ø คำสั่งกำหนดค่า (assignment statement) ซึ่งมีรุปแบบดังนี้
variableName = expression ;
Ø ตัวอย่างเช่น
X  = 1 ;
Radius = 3.14 ;
C = ‘a’ ;
Y = x+4*3 ;
Amount = 121+14 ;

คำสั่งประกาศและกำหนดค่าตัวแปร
Ø เราสามารถที่จะประกาศและกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวแปรภายในคำสั่งเดียวกัน โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้
dataType variableName  = expression [,variableName = expression] ;
Ø ตัวอย่างเช่น
Int amount = 123 ;
float price = 12.0f ;
double x = 4.0, y = 2.5 ;
ค่าคงที่
Ø การประกาศค่าคงที่ในภาจาวาทำได้โดยการใส่คีย์เวิร์ด final หน้าคำสั่งประกาศชื่อ โดยมีรูปแบบดังนี้
final dataType CONSTANT_NAME = experession ;
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
final int MININUM = 4;
final double Min_GPA = 2.00 ;
ขอบเขตของตัวแปรและค่าคงที่
Ø ตัวแปรและค่าคงที่ซึ่งประกาศขึ้นจะสามารถใช้งานภายในบล็อกคำสั่ง ({}) ที่ประกาศเท่านั้น
Ø ภาษาจาวาแบ่งตัวแปรและค่าคงที่เป็นสองประเภทคือ
·       ตัวแปรหรือค่าคงทีที่เป็นคุณลักษณะของออปเจ็คหรือคุณลักษณะของคลาส
·       ตัวแปรหรือค่าคงทีที่อยู่ในบล็อกของเมธอดที่เรียกว่าค่าคงทีภายใน (local constant)หรือตัวแปรภายใน( local variable)
ค่าเริ่มต้นอัตโนมัติของตัวแปร
Ø ตัวแปรที่เป็นคุณลักษณะของออปเจ็คหรือคุณลักษณะของคลาสจะถูกกำหนดค่าเริ่มต้นให้โดยอัตโนมัติ
 
รับเขียนโปรแกรม Android Application และสอนการเขียนโปรแกรม สอน online ได้
อดุลย์ 081-6452400  e-mail fongwe_a@hotmail.com



Subscribe to receive free email updates:

0 Response to "Overview Java Programming for Android"

Post a Comment